โรคมือเท้าปาก อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคมือเท้าปาก

alt

มือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease – HFMD*) เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็ก ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อได้ง่าย มักมีอาการไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ในบ้านเรามีรายงานระบุว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากมากขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่จะพบได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จึงมักพบการระบาดได้ในโรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็ก สำหรับผู้ใหญ่ก็อาจพบว่าเป็นโรคนี้ได้บ้าง แต่จะเป็นการติดเชื้อโดยที่ไม่แสดงอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้อยู่

 alt

alt

    
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก

  • ในรายที่มีอาการคัน อาจเกาจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จนกลายเป็นตุ่มหนอง พุพอง
  • อาจเกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากการเจ็บแผลในปากจนทำให้ดื่มน้ำได้น้อย
  • ในบางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมักจะไม่รุนแรง และจะหายได้เองภายใน 10 วัน
  • ในรายที่เป็นรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71* (พบได้น้อย) มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักกว่าที่เกิดจากเชื้อไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16 โดยมักจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ระบบหัวใจ และปอดได้สูง ได้แก่ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) หรือเลือดออกในปอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ (แต่การติดเชื้อจากเชื้อไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16 ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และภาวะช็อกได้ แต่จะพบได้น้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71)

  
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการรับเชื้อไวรัสจากทางเดินอาหาร น้ำมูก น้ำลาย และจากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่จากผู้ป่วยเข้าไป (ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้) ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

  1. เมื่อเกิดการระบาดของโรคนี้ ไม่ควรนำบุตรหลานเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือเข้าไปคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก
  2. ฝึกให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี ไม่นำนิ้วมือหรือของเล่นเข้าปาก ส่วนผู้เลี้ยงเด็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และให้เด็กรับประทานแต่อาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และให้ดื่มน้ำสะอาด
  3. ผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำกับสบู่ (ทั้งหน้ามือ หลังมือ เล็บ ซอกนิ้วมือ รอบนิ้วมือ และข้อมือทั้งสองข้าง) หลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จ หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังจากเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็ก ก่อนการเตรียมอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร
  4. รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็วและทิ้งน้ำลงในโถส้วมเท่านั้น (ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ)
  5. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ขวดนม แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน จาน ชาม เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว รวมทั้งของเล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้ ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กควรเน้นให้บุคลากรและเด็กดูแลตนเองในเบื้องต้น ตลอดจนแยกสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนออกจากกัน อย่าให้ปะปนกัน เพราะของเล่นต่าง ๆ อาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือสิ่งขับถ่ายของเด็กได้ และควรหมั่นทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอก แล้วล้างน้ำให้สะอาดก่อนที่จะนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
  6. สำหรับการทำความสะอาดพื้นเพื่อฆ่าเชื้อโรคนั้น ควรทำความสะอาดโดยใช้สบู่หรือผงซักฟอกปกติก่อน    1 รอบ แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว คลอรอกซ์ หรือไฮเตอร์ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วค่อยเช็ดออกด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
  7. เมื่อพบว่าบุตรหลานเป็นโรคมือเท้าปาก ควรแยกให้อยู่แต่ในบ้าน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยไปคลุกคลีกับผู้อื่นประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าตุ่มแผลต่าง ๆ จะหายดี เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกด้วย ไม่ควรให้เด็กไปโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก หรือที่ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อไปยังเด็กอื่น
  8. ในช่วงที่มีการระบาดของโรค ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก ควรมีการสอบถามถึงประวัติอาการของเด็กที่หน้าโรงเรียนเกี่ยวกับอาการเป็นไข้และตุ่มน้ำที่ปาก มือ และเท้า หากสงสัยว่าเด็กคนไหนเป็นโรคมือเท้าปาก ควรให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองมารับพาเด็กกลับบ้านและไปพบแพทย์ทันที อย่าให้เด็กอยู่ในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก และควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวและวิธีป้องกันให้ทราบโดยทั่วกันแก่ครูพี่เลี้ยง พ่อแม่หรือผู้ปกครอง

 

โทร. 081-8578587
 
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Spanish Vietnamese






นายโสมณัส  นนทสุต
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง
โทร. 081-279-0976
 

 
















































QR Code
อบต.บ้านบึง


ลิขสิทธิ์ © 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-919-947 FAX. 032-919-948