วิธีรักษ์น้ำ

เราจะช่วยกันรักษาแหล่งน้ำได้อย่างไร

alt

วิถีชีวิตคนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน โดยแม่น้ำเป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในครอบครัว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเกษตรที่เคยอาศัยธรรมชาติเปลี่ยนเป็นระบบชลประทานแบบเร่งรัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ ต้องรับบทบาทในการรองรับของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่จะฟอกตัวเองตามธรรมชาติได้หรือจนแทบเรียกได้ว่าไม่มีเวลาได้หายใจ จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียขึ้น

alt

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำที่เป็นสายเลือดหลักของประเทศและมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง หากมองย้อนกลับเปรียบเทียบกับคุณภาพของแหล่งน้ำเหล่านี้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าไม่มีมาตรการในการใช้ทรัพยากรน้ำให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ นอกจากจะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำแล้ว ปัญหามลพิษจากภาวะน้ำเน่าเสียก็จะทวีความรุนแรงในขณะเดียวกัน

alt

แหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษของแหล่งน้ำที่สำคัญมาจาก 3 แหล่งได้แก่ น้ำเสียจากชุมชน (อาคาร บ้านเรือน ตลาดสด โรงแรม และโรงพยาบาล เป็นต้น) อุตสาหกรรม (โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ) และกิจกรรมการเกษตร (ทั้งการปศุสัตว์และการเพาะปลูก) ของเสียที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ได้แก่ สารอินทรีย์ แบคทีเรีย สารอาหาร โลหะหนัก สารฆ่าแมลง และสารเคมีอื่นๆ จากการสำรวจคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก พบปัญหามลพิษทางน้ำที่สำคัญได้แก่ การขาดออกซิเจน ปลาตาย การปนเปื้อนของแอมโมเนีย และแบคทีเรียในปริมาณที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน รวมทั้งปัญหาการเจริญเติบโตของพืชน้ำอย่างผิดปกติ (Eutrophication) ที่เราเห็นสภาพน้ำเป็นสีเขียว โดยทั่วไปแล้วปัญหาคุณภาพน้ำจะรุนแรงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากขาดปริมาณน้ำที่มาเจือจางความสกปรก

ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ได้โดย

alt

บำบัดน้ำเสียและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

ใช้บ่อดักไขมันและนำไขมันไปจัดการให้ถูกต้อง

ลดปริมาณและความสกปรกของของเสียและน้ำเสียที่ระบายจากสถานประกอบการ หรือแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ โดยการลดปริมาณน้ำใช้ การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีก โดยเฉพาะการเกษตรในพื้นที่ข้างเคียง

alt

ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย น้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ

สอดส่องและเป็นหูเป็นตาร่วมกับภาครัฐในการตรวจสอบและเฝ้าระวังการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดในบริเวณข้างเคียง

                จะเห็นแล้วว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องใช้ตามศักยภาพของทรัพยากร การระบายของเสียลงสู่แหล่งน้ำต้องอยู่ในระดับที่แหล่งน้ำจะสามารถฟอกตัวเองได้ แนวทางจัดการในทิศทางใหม่โดยการมองภาพรวมเป็นระบบทั้งพื้นที่เป็นลุ่มน้ำและให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนต่อไป

เรียบเรียงโดย ดร. วิจารย์ สิมาฉายา

โทร. 081-8578587
 
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Spanish Vietnamese






นายโสมณัส  นนทสุต
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง
โทร. 081-279-0976
 

 
















































QR Code
อบต.บ้านบึง


ลิขสิทธิ์ © 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-919-947 FAX. 032-919-948