งดเผาตอซังฟางข้าว ลดปัญหาหมอกควัน

งดเผาตกซังฟางข้าวลดปัญหาหมอกควัน

จากผลการวิจัยของ กรมการข้าว เมี่อปี 2555 ระบุว่า การเผาตอซังฟางข้าวนอกจากจะสร้างปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองในอากาศซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังมีผลกระทบต่อคุณสมบัติดินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ในหลายด้านประกอบด้วย

1.             การเผาตอซังภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพื้นดินสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

2.             การเผาตอซังทำให้ดินแน่นทึบ อัตราการซึมของน้ำช้าลง การไหลทางแนวราบสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องใช้น้ำมากกว่าปกติในการปลูกพืช

3.             การเผาตอซังทำให้ปริมาณไนโตรเจนบนผิวดินลดลง ส่วน pH ขอผิวดินเพื่อขึ้นเล็กน้อย เมื่อน้ำท่วมคราวต่อไปจะมีการปรับ pH ให้เข้าสภาพเดิมอีก

4.             ปริมาณจุลินทรีย์หลายชนิดลดลงหลังการเผาตอซัง

5.             การเผาตอซังทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่ควรจะหมุนเวียนลงในดิน ในพื้นที่ปลูกข้าว 78 ล้านไร่ มีปริมาณตอซังฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว ประมาณ 47 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าของธาตุหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 44,886 ล้านบาท และปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับการเผา 11,468 ล้านบาทต่อปี

การจัดการตอซังฟางข้าวแทนการเผาตอซังฟางข้าว

การจัดการตอซังฟางข้าวมีหลายวิธี

1.             การใช้จอบหมุนกลบฟางข้าว ต้องใช้เวลาหมักฟาง 2 สัปดาห์ มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และใช้ระยะเวลาในการเตรียมดินต่อพื้นที่มากกว่าแปลงที่เผาตอซัง อัตราค่าจ้างในระบบการจ้างเตรียมดินจึงเพิ่มขึ้น อีกทั้งเกษตรกรหาผู้รับจ้างยากกว่าแปลงที่เผาฟาง

2.             การใช้เครื่องจักรกลไถกลบตอซังฟางข้าว เป็นวิธีการจัดการที่ต้องหมักฟางประมาณ  2 – 3 สัปดาห์ก่อนการปลูกข้าวฤดูถัดไป เพื่อลดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวในระยะแรก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวเมาตอซัง ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางวิทยาศาสตร์ มีผลให้ไนโตรเจนที่สะสมในดินมีปริมาณลดลงชั่วคราว นอกจากนี้ การย่อยสลายยังมีการปลดปล่อยสารเคมี เช่น กรดอินทรีย์ ก๊าซต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทำให้วิธีนี้ไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ต้องการทำนาอย่างต่อเนื่องทันที เนื่องจากต้องใช้เวลาในการหมักฟาง

3.             การใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายตอซังฟางหลังเก็บเกี่ยว เป็นทางเลือกที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องเผาตอซัง แต่สามารถย่นระยะเวลาการเตรียมพื้นที่ให้เหลือเพียง 7 วัน ทำให้ปลูกข้าวได้เร็วขึ้น ลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอันเนื่องจากการเผา อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ และช่วยเพิ่มผลผลิต 27 – 36 เปอร์เซ็นต์ ลดต้นทุนค่าเตรียมดิน 50 บาท/ไร่ เมื่อใช้สารเร่งการย่อยสลายฟางข้าวที่พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร

ดังนั้น การใช้สารเร่งการย่อยสลายตอซังจึงเป็นทางเลือกในการจัดการตอซังฟางข้าวที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำนาในรอบต่อไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดมลภาวะจากการเผาและอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินในระยะยาว จึงควรแนะนำและสนับสนุนให้เกษตรกรปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนั้น ยังก่อเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรในหลายด้าน อาทิ

-       เกษตรกรสามารถปลูกข้าวรอบต่อไปได้เร็วขึ้น สามารถหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม และการระบาดของโรคแมลง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

-       เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้หลายครั้งเพื่อเพิ่มรายได้ของครัวเรือน

-       เป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน

ข้อมูล :  http://region3.prd.go.th/Environment/index.php/2010-09-21-08-22-15/54-2016-01-22-06-37-08.html

นวพรรณ ไชยวรรณ์ อุทัยยศ นักสื่อสารมวลชน ชำนาญการ

กลุ่มรายการ ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค

โทร. 081-8578587
 
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Spanish Vietnamese






นายโสมณัส  นนทสุต
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง
โทร. 081-279-0976
 

 
















































QR Code
อบต.บ้านบึง


ลิขสิทธิ์ © 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-919-947 FAX. 032-919-948