ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การเกษตรก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาตำบลตามหลักธรรมาภิบาล








ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ้านบึง

ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ้านบึง

ความเป็นมา

การอำนวยความยุติธรรม การสร้างความเป็นธรรมและความสงบสุขในสังคม เป็นภารกิจหลักที่สำคัญยิ่งของกระทรวงยุติธรรม ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในทุกพื้นที่และทุกระดับ แต่ภารกิจดังกล่าวหากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สามารถบรรลุผลอย่างยั่งยืนได้ หัวใจสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินภารกิจดังกล่าว จึงอยู่ที่คนในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้สัมผัส มีส่วนได้ส่วนเสียกับความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในชุมชนนั้นๆ ได้มีโอกาสและมีช่องทางที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง โดยมีโอกาสในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการและร่วมรับประโยชน์จากการแก้ปัญหาร่วมกันในลักษณะของการเป็น "หุ้นส่วน"

เพื่อให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นผู้อำนวยความยุติธรรมร่วมกับกระบวนการยุติธรรม จึงเกิดเป็นแนวความคิดของยุติธรรมชุมชนขึ้น ซึ่งความหมายของยุติธรรมชุมชนนั้น หลายท่านอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป บางท่านอาจเห็นว่า เป็นการควบคุมอาชญากรรมโดยชุมชนร่วมมือกับตำรวจในการป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรม บางท่านอาจมองว่า เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมและ/หรือศาลกับชุมชน โดยตระหนักว่าปัญหาอาชญากรรมเป็นประเด็นของปัญหาสังคม ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบต้องให้ความสำคัญเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น บางท่านอาจมองว่าเป็นการลงโทษหรือแก้ไขผู้กระทำผิดโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ในขณะที่บางส่วนมองไปที่บทบาทของการจัดการยุติธรรมแบบสมานฉันท์โดยชุมชนเป็นหลัก

แม้ว่ามุมมองต่อคำว่า ยุติธรรมชุมชน หลายฝ่ายจะเข้าใจและมองยุติธรรมชุมชนแตกต่างกันไป แต่มีรากฐานสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งที่ทุกกลุ่มความคิดเห็นเหมือนกัน คือ การทำงานอย่างร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกับชุมชน ซึ่งหากให้นิยามของคำว่ายุติธรรมชุมชนแล้วคำนิยามควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ประการ คือ

1. เป็นกิจกรรมด้านการป้องกันและควบคุมปัญหาอาชญากรรมในชุมชน
2. เป็นการดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชน
3. รัฐมีหน้าที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกับชุมชน

ภารกิจหลักของยุติธรรมชุมชน

1.การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมและการกระทำผิด (ความไร้ระเบียบของชุมชน)
2. การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice)
3. เยียวยาและเสริมพลังเหยื่ออาชญากรรม
4. รับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชน (reintegration)

การดำเนินการจัดให้มียุติธรรมชุมชนนั้น ต้องเป็นเรื่องของความสมัครใจของชุมชนที่จะมาร่วมทำงานร่วมกันกับภาครัฐเพื่อประโยชน์ของชุมชนนั้นเอง โดยการทำให้ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่นั้นสงบสุข ปลอดภัยน่าอยู่ โดยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ไม่มีใครรัก ห่วงใยชุมชนมากไปกว่าคนที่อยู่ในชุมชนนั้นเอง รัฐจะต้องเฟ้นหากลุ่มผู้แทนในชุมชนที่อาสาสมัครเข้าทำงานเพราะมีความห่วงใย พร้อมที่จะดูแลชุมชนของตน มาจัดฝึกอบรม ให้ความรู้ จัดสร้างเครือข่ายการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร เพื่อรับแจ้งเหตุร้ายจากยุติธรรมชุมชน เพื่อให้คำปรึกษาหารือในด้านกฎหมายหรือการป้องกันอาชญากรรม เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังเรื่องยาเสพติด เพื่อให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาสังคมให้กับยุติธรรมชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงอาสาสมัครยุติธรรมชุมชนในการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทในชุมชน รวมทั้งอาจร่วมกันวางแผนในการอบรมดูแลเด็กและเยาวชนและป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะกลุ่มที่เริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การกระทำผิด ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมมือกันจัดอบรมหรือจัดกิจกรรมให้เยาวชนได้รับรู้ถึงผลกระทบของการกระทำผิด เป็นต้น

คำนิยามของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน

"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" (Justice for All, All for Justice) อันจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง ภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมและความสงบสุข ในสังคมร่วมกัน โดยภาครัฐจะส่งเสริมการรวมตัวกันของประชาชนในลักษณะของ "เครือข่าย" เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐในการดำเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชน และจะส่งเสริมให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง สามารถจัดตั้ง "ศูนย์ยุติธรรมชุมชน" ของตนเองขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการร่วมกัน สรรหาแนวทางที่จะทำให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมกันสร้าง "สังคมที่ยุติธรรม กล่าวคือ เป็นสังคมที่ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคภายใต้กฎหมาย อย่างถ้วนทั่ว และเป็นสังคมที่มีความสงบสุขปราศจากอาชญากรรมอันจะเป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" หมายถึง ประชาชน กลุ่ม หรือองค์กรที่มีความสนใจ และสมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือ ในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างความยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน

สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หมายถึง ประชาชนผู้สนใจในงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ของกระทรวงยุติธรรม และได้ผ่านการอบรม "หลักสูตรเครือข่ายยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม " เพื่อเข้าร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหุ้นส่วนที่จะดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในชุมชน

ผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนได้รับคัดเลือก ให้เป็นตัวแทนของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประชาชนในชุมชน ในการประสานงาน ระหว่างประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในชุมชนและส่งผลให้เกิดความสงบสุขของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นผู้บริหารจัดการ และดำเนินงานในศูนย์ยุติธรรมชุมชน

คณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนหรือ ประชาชนในชุมชนได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย แก้ไขปัญหาให้ กับประชาชนในชุมชนในกรณีที่สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หรือผู้ประสานงาน ยุติธรรมชุมชนไม่
สามารถแก้ไขได้ และพิจารณาส่งเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ให้ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ต่อไปโดยมีผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชนเป็นเลขานุการ คณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเป็นฝ่ายธุรการ

ศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สถานที่ที่อยู่ในชุมชน และสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ตลอดจนประชาชนเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นศูนย์
ยุติธรรมชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินงาน ของคณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชนหรือดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

ศูนย์ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง ศูนย์ที่ทางกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งขึ้นอยู่ในสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัดภายในกลุ่มงานบริการประชาชน โดยให้เป็นกลไกเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง ภาครัฐกับประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ซึ่งศูนย์ประสานงาน
ยุติธรรมชุมชน มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน จัดวางระบบฐานข้อมูลและ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลไกในชุมชนกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำงานร่วมกันตลอดจนติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์

สาระน่ารู้....เกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม

altaltaltalt

altaltaltalt

ประกาศ เรื่อง การใช้แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ประกาศ เรื่อง การใช้แผนดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

เยี่ยมศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ้านบึง

alt

alt

alt

บทความ อื่นๆ ...

โทร. 081-8578587
 
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Spanish Vietnamese






นายโสมณัส  นนทสุต
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง
โทร. 081-279-0976
 


คุณพอใจ อบต.บ้านบึง ด้านใด















































QR Code
อบต.บ้านบึง


ลิขสิทธิ์ © 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-919-947 FAX. 032-919-948