ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การเกษตรก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาตำบลตามหลักธรรมาภิบาล






 



ประชาสัมพันธ์การเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช

ประชาสัมพันธ์การเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช

alt

Attachments:
Download this file (20191101112838_37914.pdf)20191101112838_37914.pdf[ ]1170 Kb

ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต พ.ศ. 2562–2564

คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง

ที่ 391/2562

เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต พ.ศ. 2562-2564

ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง

ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ้านบึง

ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ้านบึง

ความเป็นมา

การอำนวยความยุติธรรม การสร้างความเป็นธรรมและความสงบสุขในสังคม เป็นภารกิจหลักที่สำคัญยิ่งของกระทรวงยุติธรรม ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในทุกพื้นที่และทุกระดับ แต่ภารกิจดังกล่าวหากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สามารถบรรลุผลอย่างยั่งยืนได้ หัวใจสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินภารกิจดังกล่าว จึงอยู่ที่คนในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้สัมผัส มีส่วนได้ส่วนเสียกับความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในชุมชนนั้นๆ ได้มีโอกาสและมีช่องทางที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง โดยมีโอกาสในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการและร่วมรับประโยชน์จากการแก้ปัญหาร่วมกันในลักษณะของการเป็น "หุ้นส่วน"

เพื่อให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นผู้อำนวยความยุติธรรมร่วมกับกระบวนการยุติธรรม จึงเกิดเป็นแนวความคิดของยุติธรรมชุมชนขึ้น ซึ่งความหมายของยุติธรรมชุมชนนั้น หลายท่านอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป บางท่านอาจเห็นว่า เป็นการควบคุมอาชญากรรมโดยชุมชนร่วมมือกับตำรวจในการป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรม บางท่านอาจมองว่า เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมและ/หรือศาลกับชุมชน โดยตระหนักว่าปัญหาอาชญากรรมเป็นประเด็นของปัญหาสังคม ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบต้องให้ความสำคัญเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น บางท่านอาจมองว่าเป็นการลงโทษหรือแก้ไขผู้กระทำผิดโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ในขณะที่บางส่วนมองไปที่บทบาทของการจัดการยุติธรรมแบบสมานฉันท์โดยชุมชนเป็นหลัก

แม้ว่ามุมมองต่อคำว่า ยุติธรรมชุมชน หลายฝ่ายจะเข้าใจและมองยุติธรรมชุมชนแตกต่างกันไป แต่มีรากฐานสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งที่ทุกกลุ่มความคิดเห็นเหมือนกัน คือ การทำงานอย่างร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกับชุมชน ซึ่งหากให้นิยามของคำว่ายุติธรรมชุมชนแล้วคำนิยามควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ประการ คือ

1. เป็นกิจกรรมด้านการป้องกันและควบคุมปัญหาอาชญากรรมในชุมชน
2. เป็นการดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชน
3. รัฐมีหน้าที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกับชุมชน

ภารกิจหลักของยุติธรรมชุมชน

1.การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมและการกระทำผิด (ความไร้ระเบียบของชุมชน)
2. การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice)
3. เยียวยาและเสริมพลังเหยื่ออาชญากรรม
4. รับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชน (reintegration)

การดำเนินการจัดให้มียุติธรรมชุมชนนั้น ต้องเป็นเรื่องของความสมัครใจของชุมชนที่จะมาร่วมทำงานร่วมกันกับภาครัฐเพื่อประโยชน์ของชุมชนนั้นเอง โดยการทำให้ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่นั้นสงบสุข ปลอดภัยน่าอยู่ โดยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ไม่มีใครรัก ห่วงใยชุมชนมากไปกว่าคนที่อยู่ในชุมชนนั้นเอง รัฐจะต้องเฟ้นหากลุ่มผู้แทนในชุมชนที่อาสาสมัครเข้าทำงานเพราะมีความห่วงใย พร้อมที่จะดูแลชุมชนของตน มาจัดฝึกอบรม ให้ความรู้ จัดสร้างเครือข่ายการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร เพื่อรับแจ้งเหตุร้ายจากยุติธรรมชุมชน เพื่อให้คำปรึกษาหารือในด้านกฎหมายหรือการป้องกันอาชญากรรม เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังเรื่องยาเสพติด เพื่อให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาสังคมให้กับยุติธรรมชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงอาสาสมัครยุติธรรมชุมชนในการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทในชุมชน รวมทั้งอาจร่วมกันวางแผนในการอบรมดูแลเด็กและเยาวชนและป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะกลุ่มที่เริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การกระทำผิด ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมมือกันจัดอบรมหรือจัดกิจกรรมให้เยาวชนได้รับรู้ถึงผลกระทบของการกระทำผิด เป็นต้น

คำนิยามของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน

"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ "ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" (Justice for All, All for Justice) อันจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง ภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมและความสงบสุข ในสังคมร่วมกัน โดยภาครัฐจะส่งเสริมการรวมตัวกันของประชาชนในลักษณะของ "เครือข่าย" เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐในการดำเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชน และจะส่งเสริมให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง สามารถจัดตั้ง "ศูนย์ยุติธรรมชุมชน" ของตนเองขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการร่วมกัน สรรหาแนวทางที่จะทำให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมกันสร้าง "สังคมที่ยุติธรรม กล่าวคือ เป็นสังคมที่ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคภายใต้กฎหมาย อย่างถ้วนทั่ว และเป็นสังคมที่มีความสงบสุขปราศจากอาชญากรรมอันจะเป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" หมายถึง ประชาชน กลุ่ม หรือองค์กรที่มีความสนใจ และสมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือ ในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ และเสริมสร้างความยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน

สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หมายถึง ประชาชนผู้สนใจในงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ของกระทรวงยุติธรรม และได้ผ่านการอบรม "หลักสูตรเครือข่ายยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม " เพื่อเข้าร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหุ้นส่วนที่จะดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในชุมชน

ผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนได้รับคัดเลือก ให้เป็นตัวแทนของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประชาชนในชุมชน ในการประสานงาน ระหว่างประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในชุมชนและส่งผลให้เกิดความสงบสุขของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นผู้บริหารจัดการ และดำเนินงานในศูนย์ยุติธรรมชุมชน

คณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนหรือ ประชาชนในชุมชนได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย แก้ไขปัญหาให้ กับประชาชนในชุมชนในกรณีที่สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หรือผู้ประสานงาน ยุติธรรมชุมชนไม่
สามารถแก้ไขได้ และพิจารณาส่งเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ให้ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ต่อไปโดยมีผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชนเป็นเลขานุการ คณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเป็นฝ่ายธุรการ

ศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สถานที่ที่อยู่ในชุมชน และสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ตลอดจนประชาชนเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นศูนย์
ยุติธรรมชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินงาน ของคณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรมชุมชนหรือดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

ศูนย์ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง ศูนย์ที่ทางกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งขึ้นอยู่ในสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัดภายในกลุ่มงานบริการประชาชน โดยให้เป็นกลไกเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง ภาครัฐกับประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ซึ่งศูนย์ประสานงาน
ยุติธรรมชุมชน มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน จัดวางระบบฐานข้อมูลและ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลไกในชุมชนกับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำงานร่วมกันตลอดจนติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์

สาระน่ารู้....เกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม

altaltaltalt

altaltaltalt

ประกาศ เรื่อง การใช้แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ประกาศ เรื่อง การใช้แผนดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

บทความ อื่นๆ ...

โทร. 081-8578587
 
Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Spanish Vietnamese






นายโสมณัส  นนทสุต
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง
โทร. 081-279-0976
 

 


คุณพอใจ อบต.บ้านบึง ด้านใด















































QR Code
อบต.บ้านบึง


ลิขสิทธิ์ © 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร 032-919-947 FAX. 032-919-948