ประเพณีกินข้าวห่อ (เทศกาลเดือนเก้าเรียกขวัญข้าวห่อ)

พิมพ์

        จังหวัดราชบุรียังคงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่ถาวรของชนพื้นถิ่นเชื้อสายกะเหรี่ยง  ซึ่งยังคงมีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองที่สานความสัมพันธ์ในเชื้อชาติให้คงไว้ วัฒนธรรมประเพณีที่ยังคงโดดเด่นอยู่นั้นคือ วัฒนธรรมประเพณีเดือนเก้าคือการเรียกขวัญ-กินข้าวห่อ (ไคจุง-ลาค๊อก-อังมี่ถ่อง) ซึ่งมีความหมายถึงการเชื่อมโยงสายใยในครอบครัวหรือในชนเผ่าของตนเองซึ่งในช่วงก่อนเดือนเก้าต้องฟันไร่ถางพงเพื่อทำการเพาะปลูกข้าวไร่หรือพืชผักต่างๆ     แต่เข้าเดือนเก้าเป็นช่วงฤดูฝนที่ต้องให้พืชที่ปลูกเจริญเติบโตและว่างเว้นจากการทำไร่ก็จะกำหนดให้เดือนเก้าเป็นการเดินทางกลับมาหาครอบครัวพ่อครอบครัวแม่ โดยจะมีการเตรียมต้มข้าวห่อ (ข้าวเหนียวห่อด้วยใบตอง ใบผากหรือใบไม้อื่นๆ เป็นรูปทรงกรวย มัดด้วยตอกแล้วนำไปต้มให้สุก ใช้กินกับน้ำจิ้มที่ทำด้วยมะพร้าวกวนกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล) ใช้เป็นอาหารรับรองหรือห่อกลับในช่วงเดินทางกลับ เมื่อมาถึงก็มีการเรียกขวัญ ผูกแขนด้วยด้ายแดง พักอาศัยร่วมกันมีการเลี้ยงดูอย่างสนุกสนาน รวมถึงเป็นโอกาสให้เพื่อน ญาติได้ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นชนเชื้อสายกะเหรี่ยงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเดือนเก้าตลอดเดือนในแต่ละหมู่บ้านจะกำหนดวันให้มีประเพณีเรียกขวัญไม่พร้อมกัน เนื่องจากจะได้มีโอกาสเดินทางไปมาหาสู่กันได้

         ผูกแขนเรียกขวัญ (เทศกาลเดือนเก้าเรียกขวัญข้าวห่อ)

ผูกแขนเรียกขวัญ (เทศกาลเดือนเก้าเรียกขวัญข้าวห่อ)

​ข้าวห่อ ของชาวกะเกรี่ยง

เสา กลางหมู่บ้าน ของชาวกะเหรี่ยง