คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 2563

พิมพ์

คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 2563

การประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นไปภายใต้แนวคิด "Open to Transparency" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการประเมิน ITA ที่มาจากการเปิด 2 ประการ คือ "เปิดเผยข้อมูล" ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ และสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ และ "เปิดโอกาส" ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และประชาชนผู้รับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ

ตัวชี้วัด 10 ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่

ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ

ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ

ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ

ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต

ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน

ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร

ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต

เครื่องมือในการประเมิน 3 เครื่องมือ

1. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) คือ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้อำนายการ/หัวหน้า ข้าราชการ/พนักงาน ไปจนถึงลูกจ้าง/พนักงานจ้าง ที่ทำงานกับหน่วยงานภาครัฐมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) คือ บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มารับบริการหรืิอมาติดต่อตามภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา

3. แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน

alt